วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

นิยาม 12 Tense


The Simple Tense

- Present Simple

รูปกริยา Subject + Verb เติม -s หรือ –es

วิธีการใช้

1. ใช้ Present Simple กับความจริงที่เป็นกฎตายตัว (general

truth)

- The earth moves round the sun. (โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์)

- The sun rises in the east. (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก)

2. ใช้ Present Simple กับการกระทำซึ่งเป็นประจำในปัจจุบัน (repeated or habitual facts)

- He says hello every time he sees me. (เขาทักฉันทุกครั้งที่พบกัน)

- He gets up early everyday. (เขาตื่นแต่เช้าทุกวัน)

เหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นประจำ มักจะมีคำหรือข้อความประโยค ที่แสดงความบ่อย หรือความเป็นประจำต่อไปนี้

always
every month
sometimes
every year
often
once a week
frequently
twice a month
usually
every other day
naturally
in the morning
generally
on Sundays
rarely
on week days
seldom
when (ever) he sees me
habitually
when (ever) he comes here
every day
whenever he can
every week
whenevwhenever you want

- Past Simple

รูปกริยา Subject + Verb ช่องที่ 2

                วิธีการใช้

                1.ใช้ Past Simple กับการกระทำซึ่งเกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต ซึ่งมักจะมี คำแสดงอดีตรวมอยู่ด้วย

- He arrived at four o'clock yesterday morning. (เขามาถึงตอนตีสี่เช้าวานนี้)

- She went to the movies last night. (เมื่อคืนนี้ หล่อนไปดูหนัง)

เหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่เกิดติดต่อกันในอดีต ถ้าประสงค์จะพูดถึงเหตุการณ์เหล่านั้นโดยไม่ประสงค์จะแสดงความเกี่ยว พันกันก็ใช้ Tense นี้ได้ตลอด เช่น

- She drove into the car-park, got out of the car, closed all the windows locked the doors, and walked towards the cinema.

(หล่อนขับไปยังที่จอดรถ ลงจากรถ ปิดหน้าต่างทุกบาน ใส่กุญแจประตู แล้วก็เดินไปยังโรงหนัง)

2. ใช้ past simple กับการกระทำซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต (ปัจจุบันไม่มีการกระทำนั้นแล้ว) ซึ่งมักจะมีคำแสดงอดีตและคำแสดงความบ่อยหรือความเป็นประจำรวมอยู่ด้วย เช่น

- He walked to school every day last year. (ปีกลายนี้เขาเดินไปโรงเรียนทุกวัน)

(คำแสดงความบ่อย = every day, คำแสดงอดีต = last year)

- He came to her place several times a week before he went to England.

(เขามาบ้านหล่อนสัปดาห์ละหลายครั้งก่อนที่เขาจะไปอังกฤษ)

(คำแสดงความบ่อย = several times a week, คำแสดงอดีต = before he want to England)

- Future Simple

รูปกริยา Subject + will (หรือ shall) + Verb ช่องที่ 1

ในแทบทุกกรณี (โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน) * Will ใช้กับประธานทุกคำรวมทั้ง I และ we
ในประโยคสนทนาไม่มีปัญหาในการใช้ shall หรือ will เนื่องจากทั้ง shall และ will ต่างก็ลดเสียงเป็น'll เหมือนกัน

- We'll be back.

-They'll go home.

วิธีการใช้
ใช้กับการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งปกติจะมีคำแสงอนาคต กำกับอยู่ด้วย เช่น soon,

shortly, tomorrow, tonight, next week, next month, next year, in a few minutes, a month from now เช่น

- They will leave soon.

- They will leave tonight.

- They will leave tomorrow.
ข้อสังเกตทั่วไป

1. shall กับ will
คำสั่งสองนี้มีความหมายได้ 3 อย่าง คือ

1.แสดงความสมัครใจ (volition)

2.แสดงความจำใจ (obligation)

3.แสดงความเป็นอนาคต (futurity)

ความหมายทั้งสามนี้ แม้จะรู้ว่ามันมีอยู่ แต่เราไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างอย่างชัดเจนได้

เป็นว่าเมื่อ ใช้แสดงอนาคตนั้นก็แสดงความจริงใปด้วย ในตัว เป็นต้น

                2.'Pure' Future

โดยเหตุที่ความหมายของ will (shall) เป็นได้หลายกรณีดังกล่าวเมื่อใช้ในความหมายที่แสดงอนาคตอย่างแท้จริง จึงนิยมเรียกชื่อเสียใหม่ 'Pure' Future เช่น

- I shall be twenty-nine tomorrow. (พรุ่งนี้ผมจะมีอายุ(ครบ) 29 ปี)

ในกรณีที่ประโยคเป็น 'Pure' Future นั้น โดยปกติใช้ I shall, we shall เสมอ คำอื่น ๆ ใช้ will ทั้งหมด คือเป็นไปตามกฎโดยเคร่งครัด

                3.ในประเทศอังกฤษ (ซึ่งเรียกว่า England ไม่ใช่รวมทั้งเกาะซึ่งเรียกว่า 1Britain) หรืจะว่าตามจริงก็ต้องในนครลอนดอน รูปคำถามของ I และ We มักเป็น Shall I? หรือ we? เสมอ ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้

- "You'll never pass the examination." คุณจะสอบไม่ได้แน่

- "Won't I?" ทำไมหละ (= ทำไมถึงจะสอบไม่ได้ล่ะ, ทำไมถึงว่ายังงั้นล่ะ มีเหตุผลอะไร)

                4. Shall I? Shall we?

ข้อความนี้มีความหมายเป็นเชิงขออนุญาต ไม่มีความหมายเป็นคำถามเต็มที่ เช่น

- Shall I open the window? (ผมเปิดหน้าต่างได้ไหมครับ)

                5.Will you?
มีความหมายเป็นเชิงว่า คุณจะกรุณา... ได้ไหม (= Are you willing to... หรือ Would you like to ...) เช่น

- Will you help me carry this bag? (คุณจะช่วยกรุณาถือกระเป๋านี้ได้ไหม)

                6.เมื่อประธานมีหลายตัวแม้จะมี I รวมอยู่ด้วยก็ใช้ will

- You and I will both be promoted.(คุณและผมทั้งสองคนจะได้เลื่อนขั้น)

The Continuous (Progressive) Tenses

                - Present Continuous

รูปกริยา Subject + is (am, are) + (verb+ing).

วิธีการใช้
1.
ใช้ present continuous เมื่อการกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่ต่อหน้า (ในขณะที่พูดประโยคนั้น)

- The sun is shining. (ดวงอาทิตย์กำลังส่องแสง)

- The bees are humming. (ฝูงผึ้งกำลังส่งเสียงหึ่ง)

- What are you doing? (คุณกำลังทำอะไร)
ในกรณีที่ผู้พูดต้องการ เน้นคำว่า กำลัง ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น นิยมเติมคำ just ลงข้างหน้า (just ใน

กรณีเช่นนี้ ไม่มีคำแปลในภาษาไทย)เช่น

-The children are just having breakfast. (พวกเด็ก ๆ กำลังรับประทานอาหารเช้ากันอยู่)

2.ใช้ present continuous ในเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในขณะที่พูด นี่เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไปที่ว่า ใช้ present simple กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น

- My son works hard this term. (เทอมนี้ ลูกชายของผมเรียนหนังสืออย่างขะมักเขม้น)

- He tries his best now. (ขณะนี้เขา (ใช้ความ) พยายามอย่างเต็มที่ (อย่างเต็มวามสามารถ))
ประโยคทั้งสองนี้ใช้ตามหลักทั่วไป ซึ่งจะพบว่าเป็นประโยคเนือย ๆ ไม่กระฉับกระแฉง ประโยคดังกล่าวจะมีความหมายดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าใช้ present continuous คือ

- My son is working hard this term.
- He is trying his best now.
3.
ใช้ present continuous แสดงเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่นอน

การใช้ Present continuous ในความหมายที่เป็นอนาคตนี้ ปกติเขาใช้กับกริยาที่มีการเคลื่อนที่ (verbs of movement) แต่จะใช้ กับกริยาอื่นบ้างก็ได้

- We are going to Paris on Sunday.

(วันอาทิตย์นี้เราจะไปนครปารีส)

- Dang is coming here next week and is staying here until May.

(แดงจะมาที่นี่ในสัปดาห์หน้า และเขาจะอยู่ที่นี่จนถึงเดือนพฤษภาคม)

- What are you doing next Sunday?

(วันอาทิตย์หน้าคุณจะทำอย่างไร)



กริยาที่ไม่ใช้ใน Continuous Tenses

hear
ได้ยิน
love
จำได้
see
เห็น
hate
เกลียด
feel
รู้สึก
know
รู้
smell
ได้กลิ่น
understand
เข้าใจ
taste
ได้รส,รู้รส
believe
เชื่อว่า

หมายเหตุ ฯลฯ

                กริยาที่ไม่ใช่ใน Continuous ได้แก่ กริยาแสดงการรับรู้ (verbs of perception) แสดงภาวะของจิตใจ (state of mind) ความรู้สึก (feeling) หรือแสดงสัมพันธภาพ (relationship) เช่น

เมื่อต้องการจะบอกว่า กำลังมีอาการเช่นนี้อยู่ คงใช้เพียง Present simple เท่านั้น เช่น
- I don't see anything here. (
ไม่ใช่ I am not seeing....)
(ผมไม่เห็นอะไรที่นี้เลย)

- I see what you mean. (ไม่ใช่ I am seeing...)
(ผมเข้าใจว่าคุณหมายความถึงอะไร)

- Do you hear the noise? (ไม่ใช่ Are you hearing...)
(ผมได้ยินเสียงอะไรไหม)

            - Past Continuous (Progressive)

รูปกริยา Subject+ was (were) + (verb+ing)

วิธีการใช้

โดยปกติ Tense นี้ จะไม่ใช้ในประโยคที่มีกริยาตัวเดียว แต่จะใช้ในประโยคที่มีกริยา 2 ตัวคู่กัน คือไมใช้ลอย ๆ เพียงเหตุการณ์เดียว แต่ใช้คู่กับ เหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งเสมอ

1.ใช้ past continuous ได้ลอย ๆ เพียงเหตุการณ์เดียวได้เฉพาะในกรณีที่มีคำบอกช่วงเวลากำกับไว้ในประโยค คือ บอกว่าเหตุการณ์นั้น ๆ กำลังดำเนิน อยู่ในอดีตตลอดเวลาที่กำหนดนั้น เช่น

- He was writing all day yesterday.

- He was writing all afternoon yesterday.

2.ใช้ past continuous กับเหตุการณ์ 2 อย่าง ซึ่งกำลังดำเนินอยู่พร้อม ๆ กันในอดีต (คำเชื่อม

ประโยค มักจะได้แก่ while)

- While one of the two thieves was working on the safe, the other was keeping watch for policemen.

(ขณะที่ขโมยคนหนึ่ง(ในสองคน)กำลังจัดการกับตู้เซฟอยู่นั้น อีกคนหนึ่งก็(กำลัง)คอยดูตำรวจ)

- He was working in Bloomingon while I was working in Bangkok.

(เขากำลังทำงานอยู่ในเมืองบลูมมิงตัน ในขณะที่ผมกำลังทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ)
3.
ใช้ past continuous คู่กับ past simple

เมื่อเหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ (Past continuous) ก็มีเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น (past simple) เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ใช้ past continuous เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ใช้ past simple คำเชื่อมประโยคมักจะได้แก่ when, as, while

- It was raining when I came home. (เมื่อผมกลับบ้านนั้น ฝนกำลังตกอยู่)

- While the man was looking at the picture, a thief stole his purse.

(ขณะที่ชายคนนั้นกำลังดูรูปภาพอยู่ ขโมยได้ลักเอากระเป๋าสตางค์ของเขาไป)

- As I was walking along the theatre, a car mounted the pavement and crashed into a shop.

(ขณะที่ผมกำลังเดินอยู่หน้าโรงหนัง มีรถคันหนึ่งปีนขึ้นไปบนทางเท้า และพังเข้าไปในร้านขายของร้านหนึ่ง)
หมายเหตุ ควรสนใจความหมายของการตอบคำถามต่อไปนี้

- Did you hear about Anong's new job? (คุณรู้เรื่องงานใหม่ของอนงค์หรือเปล่า)

- Yes, my wife was telling me about it this morning.

หมายความว่า ภรรยาของผมได้บอกผมบ้างแล้ว แต่ผมก็ยังอยากรู้เรื่องนั้นอีก เพราะอาจจะเป็นว่าภรรยาบอกผมยังไมละเอียด

- Yes, my wife told me about it this morning.

หมายถึงว่า ภรรยาของผมถึงเรื่องนั้นแล้วละ และผมก็ไม่สนใจ ไม่อยากจะรู้เรื่องนั้นอีกเลย

            - Future Continuous (Progressive)

รูปกริยา Subject + will (shall) be + (verb+ing).

วิธีการใช้
1.
ใช้ tense นี้ เมื่อต้องการจะบอกว่า ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตจะมีเหตุการณ์อะไรกำลัง

ดำเนินอยู่

การใช้ Tense นี้จึงต้องมี คำบอกเวลา ณ จุดหนึ่งในอนาคตกำกับอยู่ด้วยเสมอ คำบอกเวลานี้อาจเป็นกลุ่มคำ หรือวลี

- At this time tomorrow I shall be flying over Hong Kong.

(ณ เวลานี้ในวันพรุ่งนี้ ผม(คง)จะกำลังเป็นอยู่เหนือฮ่องกง)

- He will be sleeping at 7 o'clock tomorrow morning.

(เขา(คง)จะกำลังหลับอยู่ ณ เวลา 7 นาฬิกาพรุ่งนี้เช้า)

                - He'll be busy working when we call.

(เมื่อเราไปหาเขา เขาคงกำลังยุ่งอยู่กับงาน)

2. ใช้ future continuous กับเหตุการณ์ในอนา คต ซึ่งผู้พูดตัดสินใจแน่นอนแล้วว่า จะทำเช่นนั้น (ประโยคเช่นนี้ใช้เพียง future simple ก็ได้ แต่ความ หมายจะอ่อนลงไป)

- I'll be working all day tomorrow. (พรุ่งนี้ผมจะทำงานทั้งวัน)

(=I'll work all day tomorrow)

                - The Browns will be staying with us again this year.

(ปีนี้พวกครอบครัวบราวน์คงจะมาพักกับเราอีก)

(=The Browns will stay with us again this year.)

- What will you be doing tomorrow?

(พรุ่งนี้คุณจะทำอะไร)

(=What will you do tomorrow?)

- The ship will be sailing tomorrow morning.

(เรือจะออกเดินทางพรุ่งนี้เช้า)

(=The ship will sail tomorrow morning.)

The Perfect Tenses

            - Present Perfect

รูปกริยา Subject + has (have) + verb3.

วิธีการใช้
1.
ใช้กับเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในอดีต แต่ดำเนินติดต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันขณะที่พูดประโยคนั้น

โดยปกติจะมี กลุ่มคำ หรือ ประโยค บอกว่าเหตึการณ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด เช่น

since + จุดเริ่มต้นของเวลา

for + จำนวนเวลานับจากเริ่มต้น

ever since ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงบัดนี้

so far เรื่อยมาจนเดี๋ยวนี้ เรื่อยมาจนปัจจุบันนี้

up to now จนบัดนี้ จนกระทั่วเวลานี้

up to the present time จนบัดนี้ จนกระทั่งเวลานี้

- He has lived here since 1975.

- He has lived here ever since.

- He has lived here since then.

- He has lived here since his father died.

- He has lived here twenty years.
ควรสังเกตว่าหลัง since เป็น point of time คือจุดหนึ่งของเวลา เช่น since eight o'clock, since

last week, since 1960, etc. สำหรับหลัง for เป็น period of time คือเป็นช่วงเวลาที่มีความยาวนาน เช่น for ten years, for three hours , for two weeks, etc. อนึ่ง หลัง since เมื่อเป็นประโยคก็จะต้องเป็น ประโยคที่แสดง point of time ซึ่งเป็น past เช่น

- He has lived there since his father died.

(เขาอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่บิดาของถึงแก่กรรม)

2.ใช้ present perfect แสดงการเคยหรือไม่เคย

มักจะมีคำว่า never, ever, once, twice... รวมอยู่ด้วยเสมอ

- Have you ever been to New York City?

(คุณเคยไปนครนิวยอร์กไหม)

- Yes, I've been there many times.

(ครับ เคยหลายหนแล้ว)

- No, never. I've never been abroad.

(ยังครับยังไม่เคยไป ผมยังไม่เคยไปเมืองนอกเลย)
3.
ใช้ present perfect กับเหตุการณ์ที่เพิ่งจบลงใหม่ ๆ

มักจะใช้คำ Just, already (บอกเล่า) หรือ yet (คำถามหรือปฏิเสธ)

- The train has just arrived.

(รถไฟเพิ่มมาถึง)

- The train has already arrived.

(รถไฟมาถึงแล้ว)

(=The train has arrived already.)

- Has the train arrived yet (already)?

(รถไฟมาถึงหรือยัง)

- No, not yet. (ยัง ยังไม่มาถึง)

หมายเหตุ มีอีกคำหนึ่ง คือ just now ซึ่งอาจมีความหมายได้ 2 อย่าง เมื่อครู่นี้ กับ ขณะนี้

ถ้า just now = เมื่อครูนี้ ใช้กริยา past simple

ถ้า just now = ขณะนี้ ใช้กริยา present perfect

- I told you about it just now.

(ก็ผมบอกเรื่องนั้นเมื่อครูนี้น่านา)

- He has finished his work just now.

((ขณะนี้) เขาเพิ่งจะทำงานของเขาเสร็จX

                4.ใช้ present perfect กับเหตุการณ์ซึ่งความจริงจบลงไปแล้ว แต่ใจผู้พูดยังรู้สึกในผลของเหตุการณ์นั้นๆ

- I have finished the book.

(ผมอ่านหนังสือนั้นจบแล้ว)

- I've opened the window.

(ผมเปิดหน้าต่างแล้ว)

- The clock has stopped.

(นาฬิกาหยุดเสียแล้ว)

- I've seen him before.

(ผมเคยพบเขาแล้ว)

            - Past Perfect

รูปกริยา Subject + had + verb3

วิธีการใช้
1.
ใช้ tense นี้ เมื่อมีเหตุการณ์ 2 อย่างในอดีต อย่างหนึ่งเกิดก่อนอีกอย่างหนึ่ง

เหตุการณ์ที่เกิดก่อนใช้ past perfect

เหตุการณ์ที่เกิดภายหลัง ใช้ past simple

- Anong had learned English before she went to England.

(อนงค์รู้จักภาษาอังกฤษก่อนไปประเทศอังกฤษ)

- When we got to the field, the football match had already started.

(เมื่อเราไปถึงสนามนั้น การแข่งขันฟุตบอลได้เริ่มขึ้นแล้ว)

- I didn't go to the cinema because I had already seen the film.

(ผมไม่ไปดูหนัง เพราะผมดูหนังเรื่องนั้นมาแล้ว)

- I had lost my pen and I was unable to do the exercises.

(ผมทำปากกาหาย ผมจึงไม่สามารถทำแบบฝึกหัดได้)

- He had unloced the door ; there was nothing to prevent you from going out.

(เขาไขกุญแจประตูออกแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีอะไรจะขัดขวางไม่ให้คุณออกไป)

การใช้ past perfect นี้ จะได้พบอีกครั้งหนึ่งเมื่อได้กล่าวถึงประโยคคาดคะเน สมมุติ หรือประโยคแสดงความปรารถนา และในการนำคำของผู้อื่นมาเล่า ( indirect speech) ซึ่งจะได้กล่าวถึงการใช้ tense นี้ในเรื่องนั้น ๆ

                2. ใช้ past perfect กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเวลาหนึ่งในอดีต

- Jane had never seen a lion until yesterday.

(เจนไม่เคยเห็นสิงโตเลยจนกระทั่วเมื่อวานนี้ (จึงได้เห็น) )

- Soon the police arrived at the scene of the robbery. But they were too late . The thieves has already gone.

(ไม่ใช้พวกตำรวจก็ไปถึงที่โจรกรรม แต่สายเกินไป พวกโจรพากันไปเสียแล้ว)

                - Future Perfect

รูปกริยา Subject + will have + verb3

วิธีการใช้
1.
ใช้ tense นี้ เมื่อต้องการจะบอกว่าเมื่อถึงเวลาหนึ่งในอนาคตเหตุการณ์อย่างหนึ่งได้จบสิ้นลง

"เวลาหนึ่งในอนาคต" นี้ ถ้าเป็น คำบอกอนาคต นิยมใช้หลัง by หรือ before เช่น

by tomorrow ก่อนพรุ่งนี้ (เมื่อถึงพรุ่งนี้)

by eight o'clock ก่อน 8 นาฬิกา (เมื่อถึง 8 นาฬิกา)

by next month ก่อนเดือนหน้า(เมื่อถึงเดือนหน้า)

before next year ก่อนปีหน้า

after two months หลังจาก 2 เดือน(นับจากหนึ่ง)
ถ้าเป็น ประโยคบอกอนาคต ใช้กริยาเป็น present simple เช่น

- They will have finished the work by next week.

(ถึงสัปดาห์หน้าพวกเขาก็คงจะเสร็จงานนั้นแล้ว)

(=เสร็จงานนั้นก่อนสัปดาห์หน้า)

- They will have finished the work when we arrive.

(เมื่อเราไปถึงพวกเขาก็คงจะเสร็จงานนั้นแล้ว)

(= เสร็จงานนั้นก่อนพวกเราไปถึง)

                - All these roses will have died before Christmas.

(กุหลาบนี้คงจะตายก่อนถึงวันคริสต์มาส)

- She will have been in England be the end of March.

(เมื่อถึงสิ้นเดือนมีนาคมหล่อนคงจะอยู่ในอังกฤษเรียบร้อยแล้ว)

(=อยู่ในอังกฤษก่อนสิ้นเดือนมีนาคม)

                - It is now 8:30. I shall have finished my work by 2 p.m.

(ขณะนี้เวลา 8.30 น. ผมคงจะเสร็จงานก่อนบ่าย 2 โมง)

(= เมื่อถึงบ่าย 2 โมงนั้นผมคงจะเสร็จงานแล้ว)

                2. อาจใช้ future perfect แสดงความคาดคะเนหรือสงสัย

- You will have heard, I expect, that Ladda is going to get married.

(ผมคาดว่าคุณคงจะระแคะระคายมาแล้ว่าลัดดาจะแต่งงาน)

The Perfect Continuous Tenses

                - Present Perfect Continuous

รูปกริยา Subject + has(have) been + (verb+ing)

วิธีการใช้
ใช้ได้เฉพาะกริยาที่มีการต่อเนื่อง ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินติดต่อกันเรื่อยมา

จนถึงปัจจุบัน เช่น

- Bill has been living in Bangkok since 1975.

(บิลอยู่ในกรุงเทพมาตั้งแต่ปี 1975)
จะเห็นว่า การใช้ present perfect continuous ก็เหมือนกับการใช้ present perfect ธรรมดา

เพียงแต่ perfect continuous เน้นถึงความต่อเนื่องของเวลามากกว่า perfect ธรรมดาเท่านั้น

ปกติ : Bill has lived in Bangkok since 1975.

เน้นความต่อเนื่อง : Bill has been living in Bangkok since 1975.

(บิลอยู่ในกรุงเทพมาตั้งแต่ปี 1975)

ปกติ : He has worked on the problem for two hours so far.

เน้นความต่อเนื่อง : He has been working on the problem for two hours so far.

(เขาทำโจทย์มาเป็นเวลา 2 ชั่วโมงแล้ว)

Note ควรระวังว่ากริยาที่ไม่แสดงความต่อเนื่องของการกระทำ (continuity of action ) จะใช้ tense นี้ไม่ได้

ผิด : The train has been arriving.

ถูก : The train has arrived.

ผิด : The clock has been stopping.

ถูก : The clock has stopped.
ระวังไม่ใช้ perfect continuous กับคำต่อไปนี้ just, already, never, finally

                - Past Perfect Continuous

รูปกริยา Subject + had been + (verb+ing).

วิธีการใช้
การใช้ past perfect continuous มีหลักการเช่นเดียวกับการใช้ past perfect ธรรมดา คือ โดยปกติ

จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีเหตึการณ์ในอดีต 2 เหตุการณ์ ขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ก็อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น

เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ใช้ past perfect (continuous)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ใช้ past simple
จงดูประโยคนี้

- When I got to the meeting, the lecturer had spoken for half an hour.

(เมื่อผมไปถึงที่ประชุมนั้น ผู้บรรยายได้พูดมาเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงแล้ว)
จะเห็นว่า ประโยคนี้ได้ความดีอยู่แล้วจากการใช้ past perfect ธรรมดา แต่ประโยคนี้จะได้ความดีขึ้นอีก

ถ้าใช้ past perfect continuous คือ

- When I got to the meeting, the lecturer had been speaking for half an hour.
ซึ่งถ้าดูคำแปลประโยคนี้ ก็จะเหมือนกับคำแปลที่แล้ว แต่ความหมายของประโยคนี้ดีกว่า

ประโยคก่อน เพราะ เน้นถึงการที่ผู้บรรยายได้บรรยายติดต่อกัน มาเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ต่างกับประโยคแรกที่ไม่ได้เน้นถึงความต่อเนื่องของการบรรยาย (โดยปกติการบรรยายนั้นเขาก็บรรยายติดต่อกันมาไม่บรรยายแล้วหยุดแล้วบรรยายต่อ ดังนั้นประโยคนี้จึงได้ใจความดีกว่าประโยคแรกมากดังกล่าวแล้ว)
โดยทำนองเดียวกัน ประโยคว่า

- The telephone had been ringing for five minutes before it was answered.

(โทรศัพท์ได้ฟัง (ติดต่อกันมา) เป็นเวลาห้านทีก่อนที่จะมีผู้รับ)
ย่อมได้หมายความดีกว่าประโยคว่า

- The telephone had rung for five minutes before it was answered.
ประโยคหลังนี้ไม่ผิด แต่ความหนักแน่นสู้ประโยคแรกไม่ได้ เนื่องจากประโยคแรกเน้นถึงการที่โทรศัพท์ดังติดต่อกันมาเป็นเวลาห้านาที ซึ่งประโยคหลังนี้ไม่มีการเน้นดังกล่าว ควรระวัง กริยาที่ไม่แสดงความต่อเนื่องจะใช้ใน Continuous tense ไม่ได้

            - Future Perfect Continuous

รูปกริยา Subject + will(shall) + have been + (verb+ing)

วิธีการใช้
หลักการเช่นเดียวกับการใช้ Future perfect ธรรมดา เราจะใช้ perfect continuous เฉพาะเมื่อ

ต้องการเน้นความต่อเนื่องเท่านั้น คือ ใช้เมื่อต้องการจะบอกวา เมื่อถึงเวลาหนึ่งในอนาคต เหตุการณ์อย่างหนึ่งซึ่งดำเนินมาก่อนหน้านั้นก็ยังคงดำเนินอยู่และจะดำเนินต่อไปอีก

- By eleven o'clock I shall have been working for three hours.

(เมื่อถึงเวลา 11 นาฬิกา ผมก็จะทำงาน (ติดต่อกันมา) ครบสามชั่วโมง (และผมก็จะทำงานต่อไปอีก) )

จะเห็นว่าประโยคนี้ก็เหมือนประโยคที่ว่า

- By eleven o'clock I shall have worked for three hours.
เพียงแต่ประโยคหลังนี้ไม่ได้เน้นถึงการทำงานติดต่อกันมาเหมือนประโยคแรก ประโยคหลังนี้

บอกเพียงว่า เมื่อถึงเวลา 11.00 น. ผมก็จะทำงานครบ 3 ชั่วโมง ไม่ความหมายพิเศษอย่างอื่น

- On August 12th we shall have been living in this house exactly four years.

(เมื่อถึงวันที่ 12 สิงหาคม เราก็จะอยู่บ้านหลังนี้ครบ 4 ปีพอดี (และจะอยู่ต่อไปอีก))

พิจารณาประโยคต่อไปนี้

1. It is now November.

(ขณะนี้เป็นเดือนพฤศจิกายน)

2. I wrote this book in June.

(ผมเขียนหนังสือนี้เมื่อเดือนมิถุนายน)

3. I have been writing this book for five months.

(ผมเขียนหนังสือนี้มาเป็นเวลา 5 เดือนแล้ว (เขียนติดต่อกันมาเป็นเวลา 5 เดือนละบัดนี้กำลังเขียนคู่))

4. In October I was still writing this book and had been writing this book.

(เมื่อเดือนตุลาคม (ที่แล้ว) ผมก็กำลังเรียนหนังสือนี้อยู่ และได้เขียนหนังสือนี้ (ติดต่อกันมา) เป็นเวลา 4 เดือนแล้ว)

5. In December I shall be writing this book and shall have been writing this book for six months.

(ในเดือนธันวาคม(ที่จะถึงนี้) ผมก็คงจะกำลังเขียนหนังสือนี้อยู่อีก และ(ในตอนนั้น) ผมก็จะเขียนหนังสือนี้ครบเวลา 6 เดือน (แต่ก็จะยังเขียนต่อไปอีก))

6. I shall finish this book in January, when I shall have written this book seven months.

(ผมจะเขียนหนังสือนี้จบในเดือนมกราคม(ที่จะถึงนี้) ซึ่ง (ในตอนนั้น) ผมก็จะเรียนหนังสือนี้มาเป็นเวลา 7 เดือน)

โปรดสังเกตข้อ 5 และ ข้อ 6
ในข้อ 5 ประโยคตอนหลังใช้ future perfect continuous แสดงความต่อเนื่องของการเขียน (เมื่อถึงเดือนธันวาคมก็ยังเขียนอยู่ และจะเขียนต่อไป)
ต่างกับข้อ 6 ประโยคตอนหลัง ใช้ future perfect ธรรมดาเพื่อต้องการแสดงว่าเมื่อถึงเดือนมกราคมกาเขียนก็คงจะเสร็จสิ้น ไม่เขียนอีกต่อไป

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น